วัคซีนพิษสุนัขบ้า Verorab กับ PCEC สามารถใช้ทดแทนกันได้ไหมครับ

คำถามถูกตั้งเมื่อ  2017-06-08 11:39:49  จำนวนผู้เข้าชม 5493

รายละเอียดคำถาม

คำถาม:

ผุ้ป่วยได้รับวัคซีนพิษสุนัชบ้า Verorab มาแล้วหนึ่งเข็ม  ต้องการมารับวัคซีนที่ รพ พบว่า รพมีแต่วัคซีนแบบ PCEP สามารถฉีดทดแทนได้หรือไม่ ในอีก 4 เข็มที่เหลือ

ข้อมูลผู้ป่วย:
เพศ: ไม่ระบุ  อายุ: ไม่ระบุ   น้ำหนัก: ไม่ระบุ   ส่วนสูง: ไม่ระบุ
โรคประจำตัว:
ไม่ระบุ
ประวัติการแพ้ยา/อาหาร/สารเคมี/อื่นๆ:
ไม่ระบุ
ข้อมูลอื่นๆเพิ่มเติม:
ไม่ระบุ
ข้อมูลที่สืบค้นได้:

ไม่ระบุ


วัตถุประสงค์การถาม:

เพื่อแก้ปัญหาผู้ป่วย, เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติงาน



คำตอบ 1

รายละเอียดคำตอบ:

ผู้ป่วยได้รับวัคซีนพิษสุนัชบ้า Verorab® มาแล้วหนึ่งเข็ม  ต้องการมารับวัคซีนที่ รพ พบว่า รพมีแต่วัคซีนแบบ PCEC สามารถฉีดทดแทนได้หรือไม่ ในอีก 4 เข็มที่เหลือ ?

วัคซีนพิษสุนัชบ้า Verorab® เป็นวัคซีนชนิด Purified Vero cell rabies vaccine (PVRV) ที่มีการผลิตจากการเลี้ยงเชื้อ fixed rabies virus ใน Vero cell  ส่วนวัคซีนชนิด Purified chick embryo cell rabies vaccine (PCEC) ผลิตจากการเลี้ยงเชื้อ fixed rabies virus ใน primary chick embryo fibroblast cells  ซึ่งสามารถเปลี่ยนยี่ห้อวัคซีนได้ เนื่องจาก วัคซีนที่ใช้อยู่ในประเทศไทยขณะนี้ มีคุณภาพประสิทธิภาพและความปลอดภัยใกล้เคียงกัน จึงสามารถใช้ทดแทนกันได้ หากหาวัคซีนชนิดที่ใช้อยู่เดิมไม่ได้ ซึ่งกรณีนี้จะใช้ทดแทนกันได้เฉพาะในการฉีดเข้ากล้ามเท่านั้น แต่ชนิดที่ฉีดเข้าในผิวหนังนั้นอาจต้องระมัดระวัง เนื่องจาก บางยี่ห้อไม่แนะนำให้ฉีดเข้าในผิวหนังดังนั้น เพื่อให้เกิดความปลอดภัยควรมีการบันทึกการฉีดวัคซีนที่ระบุทั้ง ชื่อยี่ห้อวัคซีนและวิธีฉีดวัคซีนไว้ด้วย


ชนิดของวัคซีนพิษสุนัขบ้าที่มีจำหน่ายในประเทศไทย สามารถจำแนกตามการผลิตได้เป็น 2 กลุ่ม คือ

  1. วัคซีนเซลล์เพาะเลี้ยง
    1. Purified Vero cell rabies vaccine (PVRV) เป็นวัคซีนที่มีการผลิตจากการเลี้ยงเชื้อ fixed rabies virus ใน Vero cell เช่น 
      • •    VERORAB® 
      • •    Abhayrab® 
    2. Human Diploid cell rabies vaccine (HDCV) ผลิตจากการเลี้ยงเชื้อ fixed rabies virus ใน Human diploid cell 
    3. Purified chick embryo cell rabies vaccine (PCEP) ผลิตจากการเลี้ยงเชื้อ fixed rabies virus ใน primary chick embryo fibroblast cells เช่น Rabipur®
  2. วัคซีนไข่เป็ดฟักชนิดบริสุทธิ์ ได้แก่
    1. Purified Duck Embryos Cell Rabies Vaccine (PDEV) ผลิตจากการเลี้ยงเชื้อ fixed rabies virus ในตัวอ่อนไข่เป็ดฟัก Embrynated duck eggs  

วิธีการฉีดมี 2 วิธี ดังนี้

  1. •    การรักษา pre-exposure rabies prophylaxis อาจพิจารณาให้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีปัจจัยเสี่ยงในการสัมผัสโรค ให้ได้ 2 วิธีคือ
    1.     การฉีดเข้ากล้าม(Intramuscular regimen: IM) ใช้วัคซีนชนิด PVRV , CPRV, PCEP, PDEV 1 เข็ม (1 มล. หรือ 0.5 มล.แล้วแต่ชนิดของวัคซีนใน 1 หลอดเมื่อละลายแล้ว) ฉีดเข้ากล้ามเนื้อต้นแขนในวันที่ 0, 7, 21 หรือ 28
    2. การฉีดเข้าในหนัง (Intradermal regimen: ID) ใช้วัคซีนชนิด PVRV, CPRV, PCEP 0.1มล./จุดจำนวน 1จุด ฉีดเข้าในผิวหนังบริเวณต้นแขนในวันที่ 0, 7, 21 หรือ 28 หรือใช้วัคซีน PVRV (Verorab®) 0.1 มล./จุด จำนวน 2 จุด ฉีดเข้าในผิวหนัง บริเวณต้นแขน 2 ข้าง ข้างละ 1 จุดในวันที่ 0 และ 28
  2. การรักษา post-exposure prophylaxis การฉีดวัคซีนภายหลังสัมผัสโรคพิษสุนัขบ้าให้ใช้วัคซีนโดยการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ (intramuscular) หรือการฉีดเข้าในหนัง (intradermal) โดยถือหลักการว่าการให้วัคซีนในช่วง 14 วันแรกจะกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันในการป้องกันโรค rabies neutralizing antibody (Nab) titer จะขึ้นสูงมากกว่า 0.5 IU/มล. ซึ่งเป็นระดับที่ถือว่าเพียงพอในการป้องกันโรคได้ ภายในวันที่ 10-14 หลังได้รับวัคซีน และวัคซีนที่ให้ในวันที่ 28 หรือหลังจากนั้นจะทำให้ภูมิคุ้มกันอยู่ได้นานขึ้น แพทย์ควรกำชับให้ผู้ป่วยมารับวัคซีนตรงตามกำหนดนัดตามสูตรการฉีดวัคซีน อย่างไรก็ตามในกรณีที่มาผิดนัด โดยทั่วไปให้ฉีดเข็มต่อไปเลยโดยไม่ต้องเริ่มใหม่แต่ทั้งนี้แล้วแต่ดุลยพินิจของแพทย์
    1. สูตรการฉีดเข้ากล้าม (Intramuscular regimen: IM) .
      • สูตร ESSEN (standard WHO intramuscular regimen) (1-1-1-1-1-0)  
        • วิธีการ ฉีดวัคซีน 1 เข็ม (1 มล. หรือ 0.5 มล.แล้วแต่ชนิดของวัคซีนใน 1 หลอดเมื่อละลายแล้ว) เข้าบริเวณกล้ามเนื้อต้นแขน (deltoid) ในวันที่ 0, 3, 7, 14 และ 28
    2. สูตรการฉีดเข้าในหนัง (Intradermal regimen: ID)
      • สูตร TRC - ID (2-2-2-0-2-0)
        • วิธีการ ฉีดวัคซีนเข้าในหนังบริเวณต้นแขน 2 ข้าง ข้างละ1จุด (รวม2จุด) ปริมาณ จุดละ 0.1 มล. ในวันที่ 0, 3, 7 และ 28

เอกสารอ้างอิง:

1. กลุ่มโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางเวชปฏิบัติโรคพิษสุนัขบ้าและคำถามที่พบได้บ่อย. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2559.10-32.
2. สถานเสาวภา สภากาชาดไทย. แนวทางการให้การดูแลรักษาผู้ป่วยสัมผัสโรคพิษสุนัขบ้า (QSMI Guideline for Pos-Exposure Rabies Treatment). กรุงเทพฯ: 2559.9-16.
3. MIMS Thailand. rabies Immunoglobulin. Available at: http://www.mims.com. Accessed Jun 8, 2017.

คำสืบค้น:

PCEC, Rabies Vaccine, Verorab

หมวดหมู่คำถาม:

Availability of dosage forms, Method / rate of administration, Therapeutic Use/ Efficacy/ Indication

ตอบคำถามโดย


2017-06-08 16:28:18
ระยะเวลาที่ใช้สืบค้น 1.00 ชั่วโมง

คำตอบ 2

รายละเอียดคำตอบ:

ผู้ป่วยได้รับวัคซีนพิษสุนัชบ้า Verorab® มาแล้วหนึ่งเข็ม  ต้องการมารับวัคซีนที่ รพ พบว่า รพมีแต่วัคซีนแบบ PCEC สามารถฉีดทดแทนได้หรือไม่ ในอีก 4 เข็มที่เหลือ ?

วัคซีนพิษสุนัชบ้า Verorab® เป็นวัคซีนชนิด Purified Vero cell rabies vaccine (PVRV) ที่มีการผลิตจากการเลี้ยงเชื้อ fixed rabies virus ใน Vero cell  ส่วนวัคซีนชนิด Purified chick embryo cell rabies vaccine (PCEC) ผลิตจากการเลี้ยงเชื้อ fixed rabies virus ใน primary chick embryo fibroblast cells  ซึ่งสามารถเปลี่ยนยี่ห้อวัคซีนได้ เนื่องจาก วัคซีนที่ใช้อยู่ในประเทศไทยขณะนี้ มีคุณภาพประสิทธิภาพและความปลอดภัยใกล้เคียงกัน จึงสามารถใช้ทดแทนกันได้ หากหาวัคซีนชนิดที่ใช้อยู่เดิมไม่ได้ ซึ่งกรณีนี้จะใช้ทดแทนกันได้เฉพาะในการฉีดเข้ากล้ามเท่านั้น แต่ชนิดที่ฉีดเข้าในผิวหนังนั้นอาจต้องระมัดระวัง เนื่องจาก บางยี่ห้อไม่แนะนำให้ฉีดเข้าในผิวหนังดังนั้น เพื่อให้เกิดความปลอดภัยควรมีการบันทึกการฉีดวัคซีนที่ระบุทั้ง ชื่อยี่ห้อวัคซีนและวิธีฉีดวัคซีนไว้ด้วย


ชนิดของวัคซีนพิษสุนัขบ้าที่มีจำหน่ายในประเทศไทย สามารถจำแนกตามการผลิตได้เป็น 2 กลุ่ม คือ

  1. วัคซีนเซลล์เพาะเลี้ยง
    1. Purified Vero cell rabies vaccine (PVRV) เป็นวัคซีนที่มีการผลิตจากการเลี้ยงเชื้อ fixed rabies virus ใน Vero cell เช่น 
      • •    VERORAB® 
      • •    Abhayrab® 
    2. Human Diploid cell rabies vaccine (HDCV) ผลิตจากการเลี้ยงเชื้อ fixed rabies virus ใน Human diploid cell 
    3. Purified chick embryo cell rabies vaccine (PCEP) ผลิตจากการเลี้ยงเชื้อ fixed rabies virus ใน primary chick embryo fibroblast cells เช่น Rabipur®
  2. วัคซีนไข่เป็ดฟักชนิดบริสุทธิ์ ได้แก่
    1. Purified Duck Embryos Cell Rabies Vaccine (PDEV) ผลิตจากการเลี้ยงเชื้อ fixed rabies virus ในตัวอ่อนไข่เป็ดฟัก Embrynated duck eggs  

วิธีการฉีดมี 2 วิธี ดังนี้

  1. •    การรักษา pre-exposure rabies prophylaxis อาจพิจารณาให้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีปัจจัยเสี่ยงในการสัมผัสโรค ให้ได้ 2 วิธีคือ
    1.     การฉีดเข้ากล้าม(Intramuscular regimen: IM) ใช้วัคซีนชนิด PVRV , CPRV, PCEP, PDEV 1 เข็ม (1 มล. หรือ 0.5 มล.แล้วแต่ชนิดของวัคซีนใน 1 หลอดเมื่อละลายแล้ว) ฉีดเข้ากล้ามเนื้อต้นแขนในวันที่ 0, 7, 21 หรือ 28
    2. การฉีดเข้าในหนัง (Intradermal regimen: ID) ใช้วัคซีนชนิด PVRV, CPRV, PCEP 0.1มล./จุดจำนวน 1จุด ฉีดเข้าในผิวหนังบริเวณต้นแขนในวันที่ 0, 7, 21 หรือ 28 หรือใช้วัคซีน PVRV (Verorab®) 0.1 มล./จุด จำนวน 2 จุด ฉีดเข้าในผิวหนัง บริเวณต้นแขน 2 ข้าง ข้างละ 1 จุดในวันที่ 0 และ 28
  2. การรักษา post-exposure prophylaxis การฉีดวัคซีนภายหลังสัมผัสโรคพิษสุนัขบ้าให้ใช้วัคซีนโดยการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ (intramuscular) หรือการฉีดเข้าในหนัง (intradermal) โดยถือหลักการว่าการให้วัคซีนในช่วง 14 วันแรกจะกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันในการป้องกันโรค rabies neutralizing antibody (Nab) titer จะขึ้นสูงมากกว่า 0.5 IU/มล. ซึ่งเป็นระดับที่ถือว่าเพียงพอในการป้องกันโรคได้ ภายในวันที่ 10-14 หลังได้รับวัคซีน และวัคซีนที่ให้ในวันที่ 28 หรือหลังจากนั้นจะทำให้ภูมิคุ้มกันอยู่ได้นานขึ้น แพทย์ควรกำชับให้ผู้ป่วยมารับวัคซีนตรงตามกำหนดนัดตามสูตรการฉีดวัคซีน อย่างไรก็ตามในกรณีที่มาผิดนัด โดยทั่วไปให้ฉีดเข็มต่อไปเลยโดยไม่ต้องเริ่มใหม่แต่ทั้งนี้แล้วแต่ดุลยพินิจของแพทย์
    1. สูตรการฉีดเข้ากล้าม (Intramuscular regimen: IM) .
      • สูตร ESSEN (standard WHO intramuscular regimen) (1-1-1-1-1-0)  
        • วิธีการ ฉีดวัคซีน 1 เข็ม (1 มล. หรือ 0.5 มล.แล้วแต่ชนิดของวัคซีนใน 1 หลอดเมื่อละลายแล้ว) เข้าบริเวณกล้ามเนื้อต้นแขน (deltoid) ในวันที่ 0, 3, 7, 14 และ 28
    2. สูตรการฉีดเข้าในหนัง (Intradermal regimen: ID)
      • สูตร TRC - ID (2-2-2-0-2-0)
        • วิธีการ ฉีดวัคซีนเข้าในหนังบริเวณต้นแขน 2 ข้าง ข้างละ1จุด (รวม2จุด) ปริมาณ จุดละ 0.1 มล. ในวันที่ 0, 3, 7 และ 28

เอกสารอ้างอิง:

1. กลุ่มโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางเวชปฏิบัติโรคพิษสุนัขบ้าและคำถามที่พบได้บ่อย. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2559.10-32.
2. สถานเสาวภา สภากาชาดไทย. แนวทางการให้การดูแลรักษาผู้ป่วยสัมผัสโรคพิษสุนัขบ้า (QSMI Guideline for Pos-Exposure Rabies Treatment). กรุงเทพฯ: 2559.9-16.
3. MIMS Thailand. rabies Immunoglobulin. Available at: http://www.mims.com. Accessed Jun 8, 2017.

คำสืบค้น:

PCEC, Rabies Vaccine, Verorab

หมวดหมู่คำถาม:

Availability of dosage forms, Method / rate of administration, Therapeutic Use/ Efficacy/ Indication

ตอบคำถามโดย
Hospital Admin

2017-06-08 16:31:57
ระยะเวลาที่ใช้สืบค้น 1.00 ชั่วโมง

ความคิดเห็น

ยังไม่มีการมีการแสดงความคิดเห็นในคำถามข้อนี้