ยาเถาวัลย์เปรียง แตกต่างจากยากลุ่ม NSAIDs อย่างไร

คำถามถูกตั้งเมื่อ  2017-05-11 12:07:07  จำนวนผู้เข้าชม 1333

รายละเอียดคำถาม

คำถาม:

คำถาม

  • ยาสมุนไพรเถาวัลย์เปรียงมีสารสำคัญ การออกฤทธิ์และสรรพคุณ เหมือนหรือแตกต่างจากยาต้านการอักเสบกลุ่ม NSAIDs หรือไม่/อย่างไร
  • เถาวัลย์เปรียงสามารถใช้ทดแทนยาต้านการอักเสบกลุ่ม NSAIDs หรือไม่
  • เถาวัลย์เปรียงมีข้อห้ามใช้ในผู้ป่วยที่แพ้ยากลุ่ม NSAIDs หรือไม่

ข้อมูลผู้ป่วย:
เพศ: ไม่ระบุ  อายุ: ไม่ระบุ   น้ำหนัก: ไม่ระบุ   ส่วนสูง: ไม่ระบุ
โรคประจำตัว:
ไม่ระบุ
ประวัติการแพ้ยา/อาหาร/สารเคมี/อื่นๆ:
ไม่ระบุ
ข้อมูลอื่นๆเพิ่มเติม:
ไม่ระบุ
ข้อมูลที่สืบค้นได้:

ไม่ระบุ


วัตถุประสงค์การถาม:

เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติงาน, เพื่อเพิ่มเติมความรู้/วิจัย



คำตอบ 1

รายละเอียดคำตอบ:

ยาสมุนไพรเถาวัลย์เปรียงมีสารสำคัญ การออกฤทธิ์และสรรพคุณ เหมือนหรือแตกต่างจากยาต้านการอักเสบกลุ่ม NSAIDs หรือไม่/อย่างไร

  • เถาวัลย์เปรียง หรือ ชื่อวิทยาศาสตร์ Derris scandens (Roxb.) Benth. จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (LEGUMINOSAE) ซึ่งมีสรรพคุณ ช่วยลดอาการปวด แก้กษัย ขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะกะปริบกะปรอย มีสรรพคุณเด่นในด้านการรักษาอาการปวดตามร่างกาย เช่น  ปวดข้อ, ปวดกล้ามเนื้อ ซึ่งมีสารสำคัญจากลำต้น (stem) ของเถาวัลย์เปรียง คือ สารไอโซฟลาโวนและสารไอโซฟลาโวนกลัยโคไซด์ ได้แก่ genistein-7-O-[γ-rhamnopyranosyl-(1-6)-β-glucopyranoside]  มีคุณสมบัติเหมือนยากลุ่ม non-steroidalanti-inflammatories (NSAIDs) ออกฤทธิ์ผ่านกลไก cyclooxygenase และ lipoxygenase pathways โดยการยับยั้งเอ็นไซม์ cyclooxygenase 1 (COX-1) และยับยั้งการสร้าง leukotriene-B4 (LTB4) ส่งผลให้เกิดยับยั้งการสังเคราห์ eicosanoid และยับยั้งกระบวนการ cytoprotective ของระบบทางเดินอาหารจึงช่วยในการต่อต้านอาการอักเสบตามข้อและกล้ามเนื้อ ทำให้อาการปวดเมื่อยต่างๆ ลดลง

เถาวัลย์เปรียงสามารถใช้ทดแทนยาต้านการอักเสบกลุ่ม NSAIDs หรือไม่

มีการการศึกษานี้เป็นข้อมูลสนับสนุนว่า เถาวัลย์เปรียงมีประสิทธิภาพไม่แตกต่างจากยากลุ่ม NSAIDs ในการลดอาการปวด ซึ่งสามารถนำไปพิจารณาเป็นทางเลือกในการรักษาอาการปวดให้แก่ผู้ป่วยได้ คือ

  • จากการศึกษาเรื่อง Efficacy and safety of Derris scandens (Roxb.) Benth. for musculoskeletal pain treatment: A systematic review and meta-analysis of randomized controlled trials พบว่า เถาวัลย์เปรียงมีประสิทธิภาพในการลดอาการปวดกล้ามเนื้อไม่ด้อยไปกว่ากลุ่มที่รักษาด้วยยา NSAIDs (ความแตกต่างของค่าเฉลี่ย = 0.06; 95% CI: 0.20, 0.31) ในด้านการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยอาการไม่พึงประสงค์ที่พบมากที่สุด คือ การระคายเคืองทางเดินอาหาร

  • จากการศึกษาเรื่อง A Systematic Review and Meta-analysis on Efficacy of Derris scandens (Roxb.) Benth for Pain Reliever ที่ทำการศึกษาในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมและปวดหลังส่วนล่าง พบว่า เถาวัลย์เปรียงมีประสิทธิภาพในด้านการลดอาการปวดไม่แตกต่างจากยากลุ่ม NSAIDs (ความแตกต่างของค่าเฉลี่ย = 0.01; 95%CI=-0.13, 0.14) และผลการตรวจทางปฏิบัติการพบว่า ทั้งสองกลุ่มมีค่าทางห้องปฏิบัติการไม่แตกต่างกัน ส่วนในด้านการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ พบว่า ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (RR= -0.84; 95%CI=0.63,1.11) อาการไม่พึงประสงค์ที่พบมากที่สุดในทั้งสองกลุ่ม คือ การระคายเคืองทางเดินอาหาร รองลงมาคือ อาการมึนงง และไม่พบอาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรง 


เถาวัลย์เปรียงมีข้อห้ามใช้ในผู้ป่วยที่แพ้ยากลุ่ม NSAIDs หรือไม่

  • ยังไม่พบรายงานการแพ้เถาวัลย์เปรียงในผู้ป่วยที่แพ้ยากลุ่ม NSAIDs แต่ในการศึกษาเรื่อง Signal detection for Thai traditional medicine: Examination of national pharmacovigilance data using reporting odds ratio and reported population attributable risk พบว่า เถาวัลย์เปรียงทำให้เกิด angioedema (RPAR = 0.01%) ซึ่งเกิดน้อยกว่า non-steroidal anti-inflammatory drugs เช่น ibuprofen (RPAR = 12%) และ diclofenac (RPAR = 7.4%) ในกรณีผู้ป่วยที่มีการแพ้ยากลุ่ม NSAIDs แบบ pseudoallergy โดยเกิดผ่านกลไกการยับยั้ง cox-I ควรหลีกเลี่ยงการใช้เถาวัลย์เปรียง

 

เอกสารอ้างอิง:

คำสืบค้น:

Derris scandens (Roxb.) Benth, Alternative medicine, Pain, Nonsteroidal anti-inflammatory drugs, ADR, Serious ADR


หมวดหมู่คำถาม:

Pharmacology/ Pharmacokinetics, Herbal medicine, Therapeutic Use/ Efficacy/ Indication

ตอบคำถามโดย
Hospital Admin

2017-05-15 00:09:56
ระยะเวลาที่ใช้สืบค้น 8.00 ชั่วโมง

ความคิดเห็น

ยังไม่มีการมีการแสดงความคิดเห็นในคำถามข้อนี้