น้ำมันคริล (Krill oil) มีข้อดีกว่า นจ้ำมันปลา(fish oil) อย่างไร

คำถามถูกตั้งเมื่อ  2015-07-24 12:30:48  จำนวนผู้เข้าชม 3026

รายละเอียดคำถาม

คำถาม:

น้ำมันคริลมี (krill oil) ข้อดีกว่าน้ำมันปลา (fish oil) อย่างไร

ในการใช้เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทั้งในแง่ของประสิทธิภาพ และความปลอดภัย

ข้อมูลผู้ป่วย:
เพศ: ไม่ระบุ  อายุ: ไม่ระบุ   น้ำหนัก: ไม่ระบุ   ส่วนสูง: ไม่ระบุ
โรคประจำตัว:
ไม่ระบุ
ประวัติการแพ้ยา/อาหาร/สารเคมี/อื่นๆ:
ไม่ระบุ
ข้อมูลอื่นๆเพิ่มเติม:
ไม่ระบุ
ข้อมูลที่สืบค้นได้:

1. แหล่งข้อมูลตติยภูมิ

1.1 Scott GN. How Does Krill Oil Compare With Fish Oil?. Medscape; 2012.

คำตอบ

น้ำมันคริลและน้ำมันปลา อุดมไปด้วยกรดไขมันไม่อิ่มตัวชนิดโอเมก้า-3; EPA และ DHA  โดยโอเมก้า-3

นั้นมีส่วนช่วยในการลดความเสี่ยงของการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจ (coronary heart disease) รวมถึงช่วยลดระดับ

triglyceride, ลดอัตราการเต้นของหัวใจ และลดความดันโลหิต

น้ำมันคริลนั้นมีข้อมูลการศึกษารองรับน้อยกว่าน้ำมันปลา

ในแง่ของการใช้เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสำหรับโรคหลอดเลือดหัวใจ มีการศึกษาทางคลินิกเรื่องหนึ่ง

ได้ทำการเปรียบเทียบประสิทธิภาพระหว่างน้ำมันคริล (1-3 g/วัน), น้ำมันปลา (3 g/วัน) และยาหลอก ในผู้ป่วยจำนวน 120

ราย เป็นเวลา 3 เดือน พบว่าน้ำมันคริลนั้นให้ผลลดระดับ cholesterol และ triglyceride ในเลือดได้ดีกว่าน้ำมันปลา

และยาหลอก

การเปรียบเทียบทางด้านชีวประสิทธิผล (bioavailability) พบว่าโอเมก้า-3 ที่ได้จากน้ำมันปลานั้นจับอยู่กับ

triglyceride เป็นหลัก ส่วนโอเมก้า-3 ในน้ำมันคริลนั้นจะจับกับ phospholipid และ triglyceride

ซึ่งทำให้มีวิถีการย่อยที่แตกต่างกัน จึงส่งผลต่อค่าชีวประสิทธิผล

การศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่าน้ำมันปลานั้นถูกย่อยและดูดซึมเข้าสู่เนื้อเยื่อได้ดีกว่า

อย่างไรก็ตามมีการศึกษาทางคลินิกในเบื้องต้นพบว่า น้ำมันคริลนั้นอาจมีค่าชีวประสิทธิผลที่ดีกว่าน้ำมันปลา

ด้านอาการไม่พึงประสงค์ของน้ำมันปลาและน้ำมันคริลพบว่าคล้ายคลึงกัน เช่น ท้องอืด, แน่นเฟ้อ, คลื่นไส้, ท้องเสีย,

ท้องผูก หรือปวดเกร็งช่องท้อง เป็นต้น โดยหากทนต่ออาการดังกล่าวไม่ได้

อาจมีการเปลี่ยนรูปแบบของผลิตภัณฑ์ที่รับประทาน หรือให้รับประทานพร้อมอาหาร

แต่ยังไม่มีข้อสรุปว่าผู้บริโภคนั้นสามารถทนต่อม้ำมันชนิดใดได้มากกว่า นอกจากนี้ผู้ที่แพ้อาหารทะเลจำพวกสัตว์มีเปลือก (กุ้ง,

ปู) ควรหลีกเลี่ยงการใช้น้ำมันคริล เพราะน้ำมันคริลประกอบไปด้วย tropomyosin ซึ่งเป็นสารก่อภูมิแพ้หลักในสัตว์มีเปลือก

การใช้น้ำมันคริลในระยะเวลาสามเดือน พบว่ามีความปลอดภัย

แต่ในทางทฤษฎีการใช้น้ำมันคริลนั้นอาจเสี่ยงต่อการมีเลือดออก หากใช้ร่วมกับยาจำพวก antithrombotic อย่าวาร์ฟารินได้

เนื่องจากอันตรกิริยาระหว่างยา

ทั้งนี้ในส่วนของน้ำมันปลานั้นมีการศึกษารองรับว่ามีผลดีต่อระบบหลอดเหลือและหัวใจเช่นเดียวกับการทานปลา

2หน่วยเครือข่ายเภสัชสนเทศ “ประชานาถ” คณะเภสัชศาสตร์  มหาวิทยาลัยศิลปากร

Drug Information Request Form No. 2

    

จึงเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่ไม่ชอบทานปลา

ส่วนของน้ำมันคริลนั้นจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมว่าให้ผลดีใกล้เคียงกับการทานปลาหรือน้ำมันปลาหรือไม่ต่อไปในอนาคต

1.2 News life media. Fish oil vs krill oil. www.bodyandsoul.com.au

คำตอบ

น้ำมันคริล เป็นสารสกัดที่อุดมไปด้วยสารอาหาร สกัดมากจาสัตว์จำพวก crustacean ขนาดเล็ก

ซึ่งเป็นที่กล่าวถึงกันว่ามีคุณประโยชน์ต่อร่างกายเช่นเดียวกับน้ำมันปลา โดยประกอบไปด้วยกรดไชมันโอเมก้า-3;

eicosapentaenoic acid (EPA) และ docosahexaenoic acid (DHA) ปริมาณมาก

จุดเด่นสำคัญของน้ำมันคริล คือ โอเมก้า-3 นั้นมีการจัดเรียงตัวที่แตกต่างจากน้ำมันปลา โดยอยู่ในรูปของ

phospholipid ซึ่งทำให้สามารถดูดซึมได้ดี โดยมีอัตราการดูดซึมกว่าร้อยละ 60 จึงทำให้ทานในปริมาณที่น้อยกว่าน้ำมันปลา

1.3 Brad Sly. Krill oil vs. Fish oil: What's the difference? www.Breakingmuscle.com

คำตอบ

นำมันคริลนั้นได้รับความนิยมมากกว่า เนื่องจากมีส่วนประกอบของสารต้านอนุมูลอิสระอย่าง astaxanthin

และพบว่าในน้ำมันคริลยังมีปริมาณของ EPA มากกว่าน้ำมันปลา รวมถึงจะขจัดปัญหาเรอมีกลิ่นปลาได้อีกด้วย

แต่แม้น้ำมันคริลจะมีสารต้านอนุมูลอิสระ ก็พบว่าน้ำมันคริลอายุสั้นกว่าโดยอยู่ได้ 2-3 ชั่วโมง ก่อนสลายตัวอย่างรวดเร็ว

ส่วนน้ำมันปลาพบว่าจะมีอายุนานกว่าโดยอยู่ได้ประมาณ 48-72 ชั่วโมง ก่อนจะเสื่อมสลายไป

ทำให้ในขั้นตอนการผลิตนั้นมีการสูญเสียสารสำคัญน้อยและมีความคงตัวมากกว่า

1.4 Amanda Wood. The Health Benefits of Krill Oil versus Fish Oil.

คำตอบ

น้ำมันคริลนั้นมีปริมาณ EPA มากกว่าน้ำมันปลา จากการศึกษาทางคลินิกพบว่า น้ำมันคริลขนาด 1 และ 1.5 g

นั้นมีประสิทธิภาพดีกว่าน้ำมันปลาขนาด 3 g ในการลดระดับน้ำตาล และ LDL ในกระแสเลือด

และเนื่องจากการที่กรดไขมันของน้ำมันคริลอยู่ในเกาะอยู่กับ phospholipid ทำให้มีค่าการดูดซึม

และมีค่าชีวประสิทธิผลเหนือกว่าน้ำมันปลาซึ่งกรดไขมันเกาะกับ triglyceride

ทั้งนี้ยังมีข้อจำกัดเกี่ยวกับข้อมูลของน้ำมันคริลว่ามีผลกับมนุษย์คล้ายคลึงกับน้ำมันปลาหรือไม่

2. แหล่งข้อมูลทุติยภูมิ

2.1 http://www.sciencedirect.com

คำตอบ

 ผลลัพธ์การสืบค้น: พบงานวิจัย 271 ฉบับ (ไม่พบงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง)

2.2 http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed

คำตอบ

 ผลลัพธ์การสืบค้น: พบงานวิจัย 4 ฉบับ (พบงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 1 ฉบับ)

2.3 http://www.ncbi.nlm.nih.gov/mesh

Keywords: (fish oil) AND (krill oil) AND (efficacy)

Keywords: (fish oil) AND (krill oil) AND (efficacy)

3หน่วยเครือข่ายเภสัชสนเทศ “ประชานาถ” คณะเภสัชศาสตร์  มหาวิทยาลัยศิลปากร

Drug Information Request Form No. 2

    

Keywords: ("Euphausiacea"[Mesh]) AND "Fish Oils"[Mesh]

คำตอบ

 ผลลัพธ์การสืบค้น: พบงานวิจัย 28 ฉบับ (พบงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 4 ฉบับ)

3. แหล่งข้อมูลปฐมภูมิ

3.1 Sampalis F, Bunea R, Pelland MF, Kowalski O, Duguet N, Dupuis S. Evaluation of the

effects of Neptune Krill Oil on the management of premenstrual syndrome and dysmenorrhea.

Altern Med Rev. May 2003;8(2):171–9.

คำตอบ

จากการศึกษาในรูปแบบ randomized clinical trial ในผู้ป่วยที่มีอาการปวดประจำเดือน (dysmenorrhea)

หรือผู้ที่มีกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน (premenstrual syndrome) 70 ราย โดยการรับประทานน้ำมันคริล

หรือน้ำมันปลา ขนาด 2 g นานสามเดือน

พบว่าในกลุ่มที่รับประทานน้ำมันคริลจะช่วยลดระยะเวลาการใช้ยาแก้ปวดลงได้มากกว่ากลุ่มที่ได้รับน้ำมันปลาอย่างมีนัยสำคั

ญ (p <0.03)

รวมถึงยังช่วยลดอาการปวดประจำเดือนและอาการทางอารมณ์ของผู้ป่วยได้ดีกว่าน้ำมันปลาอย่างมีนัยสำคัญเช่นกัน

3.2  Bunea R, El Farrah K, Deutsch L. Evaluation of the effects of Neptune Krill Oil on the

clinical course of hyperlipidemia. Altern Med Rev. Dec 2004;9(4):420–8.

คำตอบ

จากการศึกษาในรูปแบบ ramdomized study ในผู้ป่วยที่มีภาวะ hyperlipidemia 120 ราย เป็นเวลา 90 วัน

พบว่าการรับประทานน้ำมันคริลขนาด 1-3 g/วัน นั้นมีประสิทธิภาพในการลดระดับ glucose, total cholesterol,

triglyceride LDL และ HDL ได้อย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับ baseline

และพบว่ามีประสิทธิภาพเหนือกว่าการรับประทานน้ำมันปลาและยาหลอก

โดยพบว่าน้ำมันคริลแสดงประสิทธิภาพดีกว่าแม้ใช้เพียง 500 mg/วัน

3.3 Ulven SM, Kirkhus B, Lamglait A, Basu S, Elind E, Haider T, et al.. Metabolic effects of

krill oil are essentially similar to those of fish oil but at lower dose of EPA and DHA, in healthy

volunteers. Lipids. Jan 2011;46(1):37–46.

คำตอบ

จากการศึกษาในรูปแบบ ramdomized study ในอาสาสมัครสุขภาพดี เพื่อประเมินประสิทธิภาพของน้ำมันคริล

และน้ำมันปลาต่อระดับไขมันไขมันในเลือด รวมถึงผลต่อ oxidative stress และ inflammatory marker

พบว่าการรับประทานน้ำมันคริลและน้ำมันปลานั้นมีผลต่อระดับกรดไขมันโอเมก้า-3 ไม่แตกต่างกัน

รวมถึงประสิทธิภาพในการลดระดับไขมันในเลือด และ oxidative stress และ inflammatory marker

ก็ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญเช่นกัน แม้ว่าน้ำมันคริลจะมีปริมาณของ EPA + DHA เพียงร้อยละ 62.8

ของน้ำมันปลาก็ตาม

3.4 Konagai C, Yanagimoto K, Hayamizu K, Han L, Tsuji T, Koga Y. Effects of krill oil

containing n-3 polyunsaturated fatty acids in phospholipid form on human brain function: a

randomized controlled trial in healthy elderly volunteers. Clin Interv Aging. 2013;8:1247–57.

4หน่วยเครือข่ายเภสัชสนเทศ “ประชานาถ” คณะเภสัชศาสตร์  มหาวิทยาลัยศิลปากร

Drug Information Request Form No. 2

    

คำตอบ

จากการศึกษา ramdomized study แบบ parallel ในอาสาสมัครสูงอายุพบว่า 45 คน พบว่าน้ำมันคริล

และน้ำมันปลา (sardine oil) นั้นมีบทบาทต่อกระบวนการคิดและจดจำ โดยพบว่าในรายที่ได้รับน้ำมันดังกล่าว จะมีระดับของ

oxyhemoglobin ขณะสมองทำงานมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ และเนื่องจากกรดไขมันโอเมก้า-3 ในน้ำมันคริลนั้น

จับอยู่กับ phosphatidylcholine จึงทำให้มีประสิทธิภาพมากกว่าน้ำมันปลาที่กรดไขมันโอเมก้า-3 นั้นอยู่ในรูปแบบของ

triglyceride

3.5 Ramprasath VR, Eyal I, Zchut S, Jones PJH. Enhanced increase of omega-3 index in

healthy individuals with response to 4-week n-3 fatty acid supplementation from krill oil versus fish

oil. Lipids Health Dis. 2013;12:178.

คำตอบ

การศึกษารูปแบบ randomized, crossover trial ถึงผลของน้ำมันคริลและน้ำมันปลา

ต่อระดับกรดไขมันในเม็ดเลือดแดง และกระแสเลือด ในอาสาสมัครสุขภาพดี 24 ราย

พบว่าผู้ใช้สามารถทนต่อการใช้น้ำมันคริลได้ดี โดยไม่เกิดอาการไม่พึงประสงค์

รวมถึงน้ำมันคริลนั้นมีประสิทธิเหนือกว่าในการเพิ่มระดับของกรดไขมันโอเมก้า-3 ในกระแสเลือด, เพิ่ม omega-3 index

และลดระดับ n=6:n=3 PUFA ratio ลงอย่างมีนัยสำคัญ

4 แหล่งข้อมูลอื่นๆ

-

การวิเคราะห์และสังเคราะห์คำตอบ

น้ำมันคริลและน้ำมันปลา อุดมไปด้วยกรดไขมันไม่อิ่มตัวชนิด โอเมก้า-3; EPA และ DHA

(น้ำมันคริลมีส่วนประกอบของ EPA และ DHA ประมาณ 0.6 เท่าของน้ำมันปลา) โดยโอเมก้า-3

นั้นมีส่วนช่วยในการลดความเสี่ยงของการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจ (coronary heart disease) รวมถึงช่วยลดระดับ

total cholesterol, triglyceride, LDL, HDL  ลดอัตราการเต้นของหัวใจ และลดความดันโลหิต

การเปรียบเทียบทางด้านชีวประสิทธิผล (bioavailability) พบว่าโอเมก้า-3 ที่ได้จากน้ำมันปลานั้นจับอยู่กับ

triglyceride เป็นหลัก ส่วนโอเมก้า-3 ในน้ำมันคริลนั้นจะจับกับ phospholipid และ triglyceride

ซึ่งทำให้มีวิถีการย่อยที่แตกต่างกัน จึงส่งผลต่อค่าชีวประสิทธิผล การศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่า

น้ำมันปลานั้นถูกย่อยและดูดซึมเข้าสู่เนื้อเยื่อได้ดีกว่า อย่างไรก็ตามมีการศึกษาทางคลินิกในเบื้องต้นพบว่า

น้ำมันคริลนั้นอาจมีค่าชีวประสิทธิผลที่ดีกว่าน้ำมันปลา โดยมีอัตราการดูดซึมกว่าร้อยละ 60

นำมันคริลนั้นมีส่วนประกอบของสารต้านอุนมูลอิสระอย่าง astaxanthin และพบว่าในน้ำมันคริลยังมีปริมาณของ EPA

มากกว่าน้ำมันปลา รวมถึงจะขจัดปัญหาเรอมีกลิ่นปลาได้อีกด้วย

ด้านประสิทธิภาพนั้นพบว่า น้ำมันคริลนั้นส่งผลให้ระดับกรดไขมันโอเมก้า-3 ในร่างกายเพิ่มขึ้น อันเป็นการเพิ่มค่า

omega-3 index และลด n=6:n=3 PUFA ratio (ซึ่งเป็นตัวแทนสัดส่วนของกรดไขมันที่ไม่ดีต่อกรดไขมันดี)

ได้ดีกว่าน้ำมันปลา มีการศึกษาที่บ่งชี้ถึงข้อดีของน้ำมันคริลมีมากกว่าน้ำมันปลาในหลายๆ ด้าน

โดยมีรายงานถึงประสิทธิภาพที่ดีกว่าของน้ำมันคริลในการรักษาภาวะปวดประจำเดือน และกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน

การศึกษาทางคลินิกเรื่องหนึ่ง ได้ทำการเปรียบเทียบประสิทธิภาพระหว่างน้ำมันคริล (1-3 g/วัน), น้ำมันปลา (3 g/วัน)

และยาหลอก ในผู้ป่วยจำนวน 120 ราย เป็นเวลา 3 เดือน พบว่าน้ำมันคริลนั้นให้ผลลดระดับ cholesterol และ triglyceride

ในเลือดได้ดีกว่าน้ำมันปลา และยาหลอก

5หน่วยเครือข่ายเภสัชสนเทศ “ประชานาถ” คณะเภสัชศาสตร์  มหาวิทยาลัยศิลปากร

Drug Information Request Form No. 2

    

นอกจากนี้ยังมีผลการศึกษาที่กล่าวถึงประโยชน์ของน้ำมันคริลต่อกระบวนการทำงานของสมองและการจดจำในผู้สูงอายุที่มาก

กว่าน้ำมันปลาอีกด้วย

ด้านอาการไม่พึงประสงค์ของน้ำมันปลาและน้ำมันคริลพบว่าคล้ายคลึงกัน เช่น ท้องอืด, แน่นเฟ้อ, คลื่นไส้, ท้องเสีย,

ท้องผูก หรือปวดเกร็งช่องท้อง เป็นต้น โดยหากทนต่ออาการดังกล่าวไม่ได้

อาจมีการเปลี่ยนรูปแบบของผลิตภัณฑ์ที่รับประทาน หรือการรับประทานพร้อมอาหาร

แต่ยังไม่มีข้อสรุปว่าผู้บริโภคนั้นสามารถทนต่อม้ำมันชนิดใดได้มากกว่า

ทั้งนี้ก็ไม่ควรรับประทานมากเกินไปเพราะอาจก่อให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ต่อระบบทางเดินอาหารได้ง่าย

แต่ผู้ที่แพ้อาหารทะเลจำพวกสัตว์มีเปลือก (กุ้ง, ปู) ควรหลีกเลี่ยงการใช้น้ำมันคริล เพราะน้ำมันคริลประกอบไปด้วย

tropomyosin ซึ่งเป็นสารก่อภูมิแพ้หลักในสัตว์มีเปลือก

การใช้น้ำมันคริลในระยะเวลาสามเดือน พบว่ามีความปลอดภัย

แต่ในทางทฤษฎีนั้นการใช้น้ำมันคริลอาจเสี่ยงต่อการมีเลือดออก หากใช้ร่วมกับยาจำพวก antithrombotic อย่างวาร์ฟารินได้

ข้อมูลการตอบคำถาม (สรุปคำตอบที่ตอบแก่ผู้ถาม)

น้ำมันคริลนั้นมีรายงายถึงประสิทธิภาพที่เหนือกว่าน้ำมันปลาในหลายๆ ข้อบ่งใช้ เช่น

ประสิทธิภาพในการลดระดับไขมันในเลือด, การรักษาอาการปวดประจำเดือน,

ประโยชน์ต่อกระบวนการทำงานของสมองในผู้สูงอายุ เป็นต้น นอกจากนี้ยังอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ

ส่วนอาการไม่พึงประสงค์ที่พบนั้นก็ไม่แตกต่างจากการรับประทานน้ำมันปลา แต่อาจต้องระวังการใช้ในผู้ป่วยที่แพ้อาหารทะเล

(สัตว์มีเปลือก) และการใช้ร่วมกับยากลุ่ม antithrombotic

แม้การศึกษาที่สนับสนุนประสิทธิภาพของน้ำมันคริลจะยังมีไม่มากนัก

แต่ก็ถือว่าน้ำมันคริลเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการใช้เป้นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของผู้บริโภคที่ไม่ชอบกลิ่นของน้ำมันปลา

เอกสารอ้างอิง

1. How Does Krill Oil Compare With Fish Oil? [internet]. New York: Scott GN: 2012. [cited 2014 July 15].

Available from: http://www.medscape.com/viewarticle/759467

2. Fish oil vs krill oil [internet]. Sydney: News life media. [cited 2014 July 17]. vailable from:

http://www.bodyandsoul.com.au/nutrition/nutrition+tips/fish+oil+vs+krill+oil,18195

3. Krill oil vs. Fish oil: What's the difference? [internet]. Brad Sly. [cited 2014 July 17].  Available from:

http://breakingmuscle.com/nutrition/krill-oil-vs-fish-oil-whats-the-difference

4. The Health Benefits of Krill Oil versus Fish Oil [internet]. Washington: Amanda Wood: 2012. [cited

2014 July 17]. Available from:

http://depts.washington.edu/nutr/student_projects/dietetic/Supplements/2012/Krill%20vs%20Fish%2

0Oil_2012.pdf

5. Sampalis F, Bunea R, Pelland MF, Kowalski O, Duguet N, Dupuis S. Evaluation of the effects of

Neptune Krill Oil on the management of premenstrual syndrome and dysmenorrhea. Altern Med Rev.

May 2003;8(2):171–9.

6. Bunea R, El Farrah K, Deutsch L. Evaluation of the effects of Neptune Krill Oil on the clinical course of

hyperlipidemia. Altern Med Rev. Dec 2004;9(4):420–8.

6หน่วยเครือข่ายเภสัชสนเทศ “ประชานาถ” คณะเภสัชศาสตร์  มหาวิทยาลัยศิลปากร

Drug Information Request Form No. 2

    

7. Ulven SM, Kirkhus B, Lamglait A, Basu S, Elind E, Haider T, et al.. Metabolic effects of krill oil are

essentially similar to those of fish oil but at lower dose of EPA and DHA, in healthy volunteers. Lipids.

Jan 2011;46(1):37–46.

8. Konagai C, Yanagimoto K, Hayamizu K, Han L, Tsuji T, Koga Y. Effects of krill oil containing n-3

polyunsaturated fatty acids in phospholipid form on human brain function: a randomized controlled

trial in healthy elderly volunteers. Clin Interv Aging. 2013;8:1247–57.

9. Ramprasath VR, Eyal I, Zchut S, Jones PJH. Enhanced increase of omega-3 index in healthy individuals

with response to 4-week n-3 fatty acid supplementation from krill oil versus fish oil. Lipids Health Dis.

2013;12:178.

วิธีการส่งคำตอบ  วาจา        การบันทึกในแบบรับคำถาม    โทรศัพท์/โทรสาร


วัตถุประสงค์การถาม:



คำตอบ 1

รายละเอียดคำตอบ:

น้ำมันคริลและน้ำมันปลา อุดมไปด้วยกรดไขมันไม่อิ่มตัวชนิด โอเมก้า-3; EPA และ DHA

(น้ำมันคริลมีส่วนประกอบของ EPA และ DHA ประมาณ 0.6 เท่าของน้ำมันปลา) โดยโอเมก้า-3

นั้นมีส่วนช่วยในการลดความเสี่ยงของการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจ (coronary heart disease) รวมถึงช่วยลดระดับ

total cholesterol, triglyceride, LDL, HDL  ลดอัตราการเต้นของหัวใจ และลดความดันโลหิต

การเปรียบเทียบทางด้านชีวประสิทธิผล (bioavailability) พบว่าโอเมก้า-3 ที่ได้จากน้ำมันปลานั้นจับอยู่กับ

triglyceride เป็นหลัก ส่วนโอเมก้า-3 ในน้ำมันคริลนั้นจะจับกับ phospholipid และ triglyceride

ซึ่งทำให้มีวิถีการย่อยที่แตกต่างกัน จึงส่งผลต่อค่าชีวประสิทธิผล การศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่า

น้ำมันปลานั้นถูกย่อยและดูดซึมเข้าสู่เนื้อเยื่อได้ดีกว่า อย่างไรก็ตามมีการศึกษาทางคลินิกในเบื้องต้นพบว่า

น้ำมันคริลนั้นอาจมีค่าชีวประสิทธิผลที่ดีกว่าน้ำมันปลา โดยมีอัตราการดูดซึมกว่าร้อยละ 60

นำมันคริลนั้นมีส่วนประกอบของสารต้านอุนมูลอิสระอย่าง astaxanthin และพบว่าในน้ำมันคริลยังมีปริมาณของ EPA

มากกว่าน้ำมันปลา รวมถึงจะขจัดปัญหาเรอมีกลิ่นปลาได้อีกด้วย

ด้านประสิทธิภาพนั้นพบว่า น้ำมันคริลนั้นส่งผลให้ระดับกรดไขมันโอเมก้า-3 ในร่างกายเพิ่มขึ้น อันเป็นการเพิ่มค่า

omega-3 index และลด n=6:n=3 PUFA ratio (ซึ่งเป็นตัวแทนสัดส่วนของกรดไขมันที่ไม่ดีต่อกรดไขมันดี)

ได้ดีกว่าน้ำมันปลา มีการศึกษาที่บ่งชี้ถึงข้อดีของน้ำมันคริลมีมากกว่าน้ำมันปลาในหลายๆ ด้าน

โดยมีรายงานถึงประสิทธิภาพที่ดีกว่าของน้ำมันคริลในการรักษาภาวะปวดประจำเดือน และกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน

การศึกษาทางคลินิกเรื่องหนึ่ง ได้ทำการเปรียบเทียบประสิทธิภาพระหว่างน้ำมันคริล (1-3 g/วัน), น้ำมันปลา (3 g/วัน)

และยาหลอก ในผู้ป่วยจำนวน 120 ราย เป็นเวลา 3 เดือน พบว่าน้ำมันคริลนั้นให้ผลลดระดับ cholesterol และ triglyceride

ในเลือดได้ดีกว่าน้ำมันปลา และยาหลอก

5หน่วยเครือข่ายเภสัชสนเทศ “ประชานาถ” คณะเภสัชศาสตร์  มหาวิทยาลัยศิลปากร

Drug Information Request Form No. 2

    

นอกจากนี้ยังมีผลการศึกษาที่กล่าวถึงประโยชน์ของน้ำมันคริลต่อกระบวนการทำงานของสมองและการจดจำในผู้สูงอายุที่มาก

กว่าน้ำมันปลาอีกด้วย

ด้านอาการไม่พึงประสงค์ของน้ำมันปลาและน้ำมันคริลพบว่าคล้ายคลึงกัน เช่น ท้องอืด, แน่นเฟ้อ, คลื่นไส้, ท้องเสีย,

ท้องผูก หรือปวดเกร็งช่องท้อง เป็นต้น โดยหากทนต่ออาการดังกล่าวไม่ได้

อาจมีการเปลี่ยนรูปแบบของผลิตภัณฑ์ที่รับประทาน หรือการรับประทานพร้อมอาหาร

แต่ยังไม่มีข้อสรุปว่าผู้บริโภคนั้นสามารถทนต่อม้ำมันชนิดใดได้มากกว่า

ทั้งนี้ก็ไม่ควรรับประทานมากเกินไปเพราะอาจก่อให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ต่อระบบทางเดินอาหารได้ง่าย

แต่ผู้ที่แพ้อาหารทะเลจำพวกสัตว์มีเปลือก (กุ้ง, ปู) ควรหลีกเลี่ยงการใช้น้ำมันคริล เพราะน้ำมันคริลประกอบไปด้วย

tropomyosin ซึ่งเป็นสารก่อภูมิแพ้หลักในสัตว์มีเปลือก

การใช้น้ำมันคริลในระยะเวลาสามเดือน พบว่ามีความปลอดภัย

แต่ในทางทฤษฎีนั้นการใช้น้ำมันคริลอาจเสี่ยงต่อการมีเลือดออก หากใช้ร่วมกับยาจำพวก antithrombotic อย่างวาร์ฟารินได้

ข้อมูลการตอบคำถาม (สรุปคำตอบที่ตอบแก่ผู้ถาม)

น้ำมันคริลนั้นมีรายงายถึงประสิทธิภาพที่เหนือกว่าน้ำมันปลาในหลายๆ ข้อบ่งใช้ เช่น

ประสิทธิภาพในการลดระดับไขมันในเลือด, การรักษาอาการปวดประจำเดือน,

ประโยชน์ต่อกระบวนการทำงานของสมองในผู้สูงอายุ เป็นต้น นอกจากนี้ยังอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ

ส่วนอาการไม่พึงประสงค์ที่พบนั้นก็ไม่แตกต่างจากการรับประทานน้ำมันปลา แต่อาจต้องระวังการใช้ในผู้ป่วยที่แพ้อาหารทะเล

(สัตว์มีเปลือก) และการใช้ร่วมกับยากลุ่ม antithrombotic

แม้การศึกษาที่สนับสนุนประสิทธิภาพของน้ำมันคริลจะยังมีไม่มากนัก

แต่ก็ถือว่าน้ำมันคริลเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการใช้เป้นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของผู้บริโภคที่ไม่ชอบกลิ่นของน้ำมันปลา

เอกสารอ้างอิง:

คำสืบค้น:

น้ำมันคริล +น้ำมันปลา

หมวดหมู่คำถาม:

General product information

ตอบคำถามโดย
Hospital Staff
โรงพยาบาลพุทธมณฑล
2015-07-24 13:12:19
ไม่ระบุระยะเวลาที่ใช้สืบค้น

ความคิดเห็น

ยังไม่มีการมีการแสดงความคิดเห็นในคำถามข้อนี้